วันพฤหัสบดีที่ 20 กันยายน พ.ศ. 2555

การเขียนความเรียง


                                      

                                      การเขียนความเรียง



ลักษณะการเขียนที่ดี
๑.เนื้อหาสาระดี มีประโยชน์แก่ผู้อ่าน ข้อมูลต่างๆ ถูกต้องตามความเป็นจริง การแสดงความคิดเห็นของผู้เขียนจะต้องมีเหตุผลสมควร
๒.การใช้ภาษาดี การใช้ถ้อยคำสำนวนต่างๆ ได้ตรงตามความหมายที่ต้องการอย่างแท้จริงและใช้ภาษาให้เหมาะสมตามกาลละเทศะ การผูกประโยค ให้ได้ใจความชัดเจน การเรียงลำดับและข้อความเป็นไปอย่างไม่สับสน การใช้ถ้อยคำกะทัดรัดและการรู้จักเว้นวรรคตอนได้อีกด้วย
๓.ท่วงทำนองการเขียนดี คือการรู้จักใช้รูปแบบของการเขียนให้เหมาะสมกับเนื้อหา นับว่าเป็นศิลปะของการนำเสนอประการหนึ่ง ซึ่งจะช่วยให้ผู้อ่านได้ทั้งอรรถรสและรับรู้เจตนาของ ผู้เขียนได้ชัดเจนขึ้น ทั้งยังแสดงให้เห็นฝีมือความสามารถของผู้เขียนได้เป็นอย่างดี

                                                                การเขียนความเรียง
การเขียนความเรียง เป็นการเรียบเรียงถ้อยคำให้เป็นข้อความเพื่อแสดงความคิด ความรู้สึกและความเข้าใจของเราให้ผู้อื่นทราบ

รูปแบบของการเขียนความเรียง
๑. การเขียนคำนำ เป็นการเริ่มเรื่องให้ผู้อ่านรู้ว่าเนื้อหาที่จะอ่านต่อไปเป็นเรื่องเกี่ยวกับอะไร การเริ่มเรื่องเป็นตอนสำคัญที่จะทำให้ผู้อ่านรู้สึกว่าเป็นเรื่องที่น่าอ่านหรือไม่ ดังนั้นจึงมี วิธีการที่จะเร้าความสนใจของผู้อ่านได้หลายทาง แต่ทั้งนี้ต้องให้สอดคล้องกับเรื่องและไม่ควรให้ยาวจนเกินไป
๒. เนื้อเรื่อง หมายถึง เนื้อความซึ่งเป็นสาระสำคัญของความเรียง การเขียนเนื้อเรื่องได้ดี ต้องมีการวางโครงเรื่องเสียก่อน เพื่อช่วยให้เนื้อเรื่องเป็นไปตามลำดับ ไม่สับสนและมีความเกี่ยวเนื่องกันไปจนจบ
๓. การสรุปเรื่องหรือการลงท้าย การสรุปเรื่องหรือการลงท้ายช่วยให้ผู้อ่านทราบว่าเรื่องนี้จบแล้ว ไม่ใช่ทิ้งค้างไว้เฉยๆ ทำให้สงสัยไม่แน่ใจว่าเรื่องนี้จบหรือยัง การสรุปไม่ใช้การย่อเรื่องทั้งหมด แต่การสรุปเรื่องหรือการปิดเรื่องที่ดีต้องสร้างความประทับใจแก่ผู้อ่าน อาจปิดเรื่องด้วยข้อคิดที่คามคายหรือคำประพันธ์สั้นๆ ก็ได้

ลักษณะสำคัญของความเรียง ความเรียงที่ดีต้องประกอบด้วยลักษณะสำคัญ ๓ ประการคือ
๑. เอกภาพ ได้แก่ ความเป็นอันหนึ่งอันเดียว ความเรียงเรื่องหนึ่งๆ จะต้องมีใจความและ ความมุ่งหมายสำคัญเพียงอย่างเดียวเท่านั้น เรื่องที่นำมาเขียนจะต้องเกี่ยวข้องเป็นเรื่องเดียวกัน หรือช่วยเสริมให้เรื่องเด่นชัดขึ้น เรียงความที่ขาดเอกภาพ คือ ความเรียงที่มีเรื่องต่างๆ ปนกัน บางเรื่องไม่เกี่ยวข้องกับเรื่องเดิมก็มี
๒. สัมพันธ์ภาพ คือ การเชื่อมโยงข้อความต่างๆ ให้เป็นไปตามลำดับ มีเหตุผลรับกัน ความเรียง ที่มีสัมพันธภาพ จะต้องมีเนื้อความเกี่ยวเนื่องกันไปเหมือนลูกโซ่ เนื้อความต้องชัดเจนไม่คลุมเครือ
๓. สารัตถภาพ คือ การเน้นใจความที่สำคัญให้เด่นชัดขึ้นมา ส่วนที่เป็นพลความจะต้องเป็นพลความที่ช่วยสนับสนุนใจความสำคัญนั้น ถ้าความเรียงมีพลความมากเกินไป เรียกว่าขาดสารัตถภาพ

ลักษณะความเรียงที่ดี
๑. รูปแบบหรือสัดส่วนของความเรียงจัดได้เหมาะสม วางคำนำ เนื้อเรื่อง สรุป ได้ถูกต้องน่าอ่าน
๒. เนื้อเรื่องมีแนวคิดตรงประเด็น ให้ความคิดแปลกใหม่ อ้างเหตุผลถูกต้อง ขยายความได้แจ่มแจ้งชัดเจน
๓. ความสะอาดความเป็นระเบียบ ลายมือต้องอ่านง่าย เว้นวรรคถูกต้อง
๔. การใช้ภาษาควรคำนึงถึงข้อต่อไปนี้ - ใช้คำกะทัดรัด เข้าใจง่าย มีความหมายชัดเจน - ใช้คำถูกต้องตรงความหมายและเหมาะสมกับเรื่อง - ไม่ใช้ภาษาพูด ภาษาถิ่น หรือคำแสลง - ไม่ใช้คำฟุ่มเฟือย - ไม่ใช้ศัพท์บัญญัติหรือศัพท์ทางวิชาการที่ไม่รู้จักกันดี - ไม่ใช้สำนวนภาษาต่างประเทศ - ไม่ใช้คำย่อ - ไม่ใช้คำแบบภาษาโฆษณาหรือภาษาหนังสือพิมพ์

การเขียนความเรียงจากจินตนาการ จินตนาการ คือความคิดคำนึงถึงที่เกิดขึ้นในจิตใจ อาจเป็นการวาดภาพขึ้นตามความคิดฝันหรือความคิดคำนึงนั้นอาจมาจากประสบการณ์ แล้วสร้างภาพใหม่ให้กว้าง และวิจิตรบรรจงกว่าประสบการณ์เดิม การเขียนความเรียงจากจินตนาการจะต้องอาศัยศิลปะเฉพาะตัวของผู้เขียนและได้รับการฝึกฝนอยู่เสมอ

แนวทางในการฝึกเขียน
๑. ก่อนลงมือเขียนควรทำใจให้สบายไม่กังวล เริ่มหาภาพที่มโนภาพของเราจะชักจูงให้คิด
๒. คิดสร้างภาพ พยายามถ่ายทอดเป็นการเขียน
๓. เลือกเฟ้นถ้อยคำที่จะเขียน สามารถสื่อความหมายให้ผู้อ่านเข้าใจได้ตามความต้องการ
๔. จดบันทึกสิ่งที่คิดไว้ก่อนแล้วจึงมาเรียงลำดับความในภายหลัง
๕. วางแนวเรื่องไว้เป็นหัวข้อสั้นๆ                                               



ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น