วันพฤหัสบดีที่ 20 กันยายน พ.ศ. 2555

แนะนำบล็อก

      ขอแนะนำบล็อกแก่เพื่อนๆชาวเฟสค่ะบล็อกที่สร้างขึ้นมานี้เป็นที่รวบรวมผลงานหนังสือนิทานอีบุ้ค (e-book) หรือหนังสือนิทานอิเล็กทรอนิกส์ ผลงานทั้งหมดจัดทำขึ้นโดยนักศึกษาครุศาสตร์สาขาวิชาภาษาไทยชั้นปีที่3ที่เรียนในรายวิชา นวัตกรรมและเทคโนโลยีสานสนเ
ทศเพื่อการศึกษา สอนโดย อาจารย์อัจฉริยะ วะทา โดยบล็อกนี้มีชื่อว่า atinno.blogspot.com
มีหนังสือนิทานอีบุ้คที่เป็นฝีมือของนักศึกษาในหลายๆ สาขา หลายเรื่องน่าอ่านและสามารถโหลดเก็บไว้หรือนำไปสอนได้ด้วย

         นอกจากนี้ก็ยังรวมผลงานการจัดทำบล็อกของนักศึกษาแต่ละสาขาวิชา จัดทำเพื่อเผยแพร่เรื่องราวเกี่ยวกับความรู้ที่น่าสนใจไว้มากมาย


ตัวอย่างบล็อกค่ะ มีให้เลือชมมากมาย และใครที่สนใจจะสร้างอีบุ๊คและหนังสือทำมือเชิญเลยน่ะค่ะ

http://fernl.blogspot.com/2012/09/blog-post_7408.htm

ผญา สุภาษิต


ผญา




http://www.isangate.com/images3/redline.gif

สิถ่มน้ำลายให้เหลียวเบิ่งป่อง
สิกวมให้เหลียวเบิ่งหน้า
ของเพิ่นแพงอย่าเข้าใกล้
สิเต้นข้ามฮ่องให้เหลียวเบิ่งหนาม
พร้าเข้าอย่าฟันแฮง
ได้โชคแล้วอย่ามัวเมา

                                 

คนอีสานมีคำคม สุภาษิตสำหรับสั่งสอนลูกหลานให้ประพฤติตนอยู่ในฮีตคอง (จารีต- ประเพณี) ไม่ออกนอกลู่นอกทาง คำคมเหล่านี้รู้จักกันทั่วไป ในชื่อ "ผญา" หมายถึง ปัญญา, ปรัชญา, ความฉลาด, คำภาษิตที่มีความหมายลึกซึ้ง (wisdom, philosophy, maxim, aphorism.)
ผะหยา หรือ ผญา เป็นคำภาษาอีสาน สันนิษฐานกันว่าน่าจะมาจากคำว่า ปรัชญา เพราะภาษาอีสานออกเสียงควบ "ปร" ไปเป็น  เช่น คำว่า เปรต เป็น เผต โปรด เป็น โผด หมากปราง เป็น หมากผาง ดังนั้นคำว่า ปรัชญา อาจมาเป็น ผัชญา แล้วเป็นผญา อีกต่อหนึ่ง


ปัญญา ปรัชญา หรือผญา เป็นกลุ่มภาษาเดียวกัน มีความหมายคล้ายคลึงกัน ใกล้ เคียงกันหรือบางครั้งใช้แทนกันได้ ซึ่งหมายถึง ปัญญา ความรู้ ไหวพริบ สติปัญญา ความเฉลียว ฉลาดปราชญ์เปรื่อง หรือบางท่านบอกว่า ผญา มาจากปัญญา โดยเอา  เป็น เหมือนกับ เปรต เป็น เผด โปรด เป็น โผด เป็นต้น ผญาเป็นลักษณะแห่งความคิดที่แสดงออกมาทางคำพูด ซึ่งอาจ จะมีสัมผัสหรือไม่ก็ได้
  • ผญา คือ คำคม สุภาษิต หรือคำพูดที่เป็นปริศนา คือฟังแล้วต้องนำมาคิด มาวิเคราะห์ เพื่อค้นหาคำตอบที่เป็นจริงและชัดเจนว่า หมายถึงอะไร
  • ผญา เป็นคำพูดที่คล้องจองกัน ซึ่งไม่จำเป็นจะต้องมีสัมผัสเสมอไป แต่เวลาพูดจะ ไพเราะสละสลวย และในการพูดนั้นจะขึ้นอยู่กับจังหวะหนักเบาด้วย
  • ผญา เป็นการพูดที่ต้องใช้ไหวพริบ สติปัญญา มีเชาวน์ มีอารมณ์คมคาย พูดสั้นแต่กิน ใจความมาก
การพูดผญาเป็นการพูดที่กินใจ การพูดคุยด้วยคารมคมคาย ซึ่งเรียกว่า ผญา นั้น ทำให้ผู้ฟังได้ทั้งความรู้และความคิดสติปัญญา ความสนุกเพลิดเพลิน ยิ่งไปกว่านั้น ยังทำให้เกิด ความรักด้วย จึงทำให้หนุ่มสาวฝนสมัยก่อน นิยมพูดผญากันมาก และการโต้ตอบเชิงปัญญาที่ทำ ให้แต่ละฝ่ายเฟ้นหาคำตอบ เพื่อเอาชนะกันนั้นจึงก่อให้เกิดความซาบซึ้ง ล้ำลึกสามารถผูกมัด จิตใจของหนุ่มสาวไม่น้อย ดังนั้น ผญา จึงเป็นเมืองมนต์ขลัง ที่ตรึงจิตใจหนุ่มสาวให้แนบแน่น ลึกซึ้งลงไป
http://www.isangate.com/images1/bullet1.gifภาษิตโบราณอีสานแต่ละภาษิตมีความหมายลึกบ้าง ตื้นบ้าง หยาบก็มี ละเอียด ก็มี ถ้าท่านได้พบภาษิตที่หยาบ ๆ โปรดได้เข้าใจว่า คนโบราณชอบสอนแบบตาเห็น ภาษิตประจำ ชาติใด ก็เป็นคำไพเราะเหมาะสมแก่คนชาตินั้น คนในชาตินั้นนิยมชมชอบว่าเป็นของดี ส่วนคน ในชาติอื่น อาจเห็นว่าเป็นคำไม่ไพเราะเหมาะสมก็ได้ ความจริง "ภาษิต" คือรูปภาพของวัฒนธรรม แห่งชาติ นั่นเอง
http://www.isangate.com/images1/dimond.gifการจ่ายผญา หรือการแก้ผญา

การจ่ายผญา แก้ผญา เว้าผญา หรือพูดผญา คือการตอบคำถาม ซึ่งมึผู้ถามมาแล้ว ก็ตอบไป เป็นการพูดธรรมดา ไม่มีการเอื้อนเสียง ไม่มีทำนอง แต่เป็นจังหวะ มีวรรคตอนเท่านั้น ผู้ถามส่วนใหญ่จะเป็นหมอลำฝ่ายชาย คือลำเป็นคำถาม ฝ่ายหญิงจะเป็นฝ่ายตอบ หรือจ่ายผญา ด้วยเหตุนี้จึงมักจะเรียกว่า ลำผญา หรือลำผญาญ่อย เช่น
      (ชาย) ..... อ้ายนี้อยากถามข่าวน้ำ ถามข่าวถึงปลา อยากถามข่าวนา ถามข่าวถึงเข้า (ข้าว) อ้ายอยากถามข่าวน้อง ว่ามีผัวแล้วหรือบ่ หรือว่ามีแต่ชู้ ผัวสิซ้อนหากบ่มี
     
 (หญิง) ..... น้องนี้ปอดอ้อยซ้อยเสมอดังตองตัด พัดแต่เป็นหญิงมา บ่มีชายสิมาเกี้ยว พัดแต่สอนลอนขึ้น บ่มีเครือสิเกี้ยวพุ่ม พัดแต่เป็นพุ่มไม้เครือสิเกี้ยวกะบ่มี

หมอผญาที่ควรกล่าวถึงในที่นี้ คือ แม่ดา ซามงค์ แม่สำอางค์ อุณวงศ์ แม่เป๋อ พลเพ็ง แม่บุญเหลื่อม พลเพ็ง แห่งบ้านดอนตาล อำเภอดอนตาล จังหวัดมุกดาหาร เป็นต้น
การลำและจ่ายผญา ในสมัยโบราณนั้นจะนั่งกับพื้น คือ หมอลำ หมอผญาและหมอแคน จะนั่งเป็นวง ส่วนผู้ฟังอื่น ๆ ก็นั่งเป็นวงล้อมรอบ หมอลำบางครั้งจะมีการฟ้อนด้วย ส่วนผู้จ่ายผญา จะไม่มีการฟ้อน ในบางครั้งจะทำงานไปด้วยแก้ผญาไปด้วย เช่น เวลาลงข่วง หมอลำชายจะลำ เกี้ยว ฝ่ายหญิงจะเข็นฝ้ายไปแก้ผญาไป นอกจากหมอลำ หมอแคนแล้ว บางครั้งจะมีหมอสอยทำ การสอยสอดแทรกเป็นจังหวะไป ทำให้ผู้ฟังได้รับความสนุกสนาน การจ่ายผญาในครั้งแรก ๆ นั้น เป็นการพูดธรรมดา ไม่มีการเอื้อนเสียงยาว และนั่งพูดจ่ายตามธรรมดา ต่อมาได้มีการดัดแปลง ให้มีการเอื้อนเสียงยาว มีจังหวะและสัมผัสนอกสัมผัสในด้วย ทำให้เกิดความไพเราะ และมีการเป่า แคนประกอบจนกลายมาเป็น "หมอลำผญา" ซึ่งพึ่งมีขึ้นประมาณ 30-40 ปีมานี้
เมื่อกาลเวลาเปลี่ยนไปการพัฒนาของการจ่ายผญาจึงมีมากขึ้น จากการนั่งจ่ายผญา ซึ่งมองกันว่าไม่ค่อยถนัดและไม่ถึงอกถึงใจผู้ฟัง (ด้วยขาดการแสดงออกด้านท่าทางประกอบ) จึงมีการเปลี่ยนมาเป็นยืนลำ ทำให้มีการฟ้อนประกอบไปด้วย จากดนตรีประกอบที่มีเพียง แคน ก็ได้นำเอากลอง ฉิ่ง ฉาบ และดนตรีอื่น ๆ เข้ามาประกอบ จากผู้แสดงเพียง 2 คนก็ค่อย ๆ เพิ่มเป็น 3, 4 และ 5 คน จนมารวมกันเป็นคณะ เรียกว่า คณะหมอลำผญา บางคณะได้มีหางเครื่องเข้ามา ประกอบด้วย
http://www.isangate.com/images1/dimond.gifความทวย (ปริศนาคำทาย)
ความทวย ในภาษาอีสาน จะมีความหมายตรงกับ ปริศนาคำทาย ในภาษากลาง เป็นวิธีการสอนลูกหลานให้มีความคิด เชาว์ปัญญา ไหวพริบปฏิภาณเฉียบแหลม ประกอบกับการเล่านิทานที่มีคติสอนใจ ในสมัยก่อนนั้น คนบ้านนอกในภาคอีสานยังไม่มีวิทยุ โทรทัศน์ สิ่งบันเทิงที่พอมีคือการเล่านิทานชาดกของคนเฒ่าคนแก่ในหมู่บ้าน ในขณะที่คนแก่ก็จะได้ความสุขใจมาจากการฟังเทศน์ฟังธรรมจากวัด
ช่วงเย็นหลังอาหารค่ำก็จะเป็นช่วงเวลาของเด็กๆ หนุ่มสาว จะได้ฟังนิทานชาดก นิทานพื้นบ้านกัน หลังการเล่านิทานก็จะมีการถามปัญหา หรือ ความทวย ผู้ใดสามารถตอบได้ก็จะได้รับรางวัลเป็นผลไม้ กล้วย อ้อย ตามฤดูกาล ตัวอย่างความทวย เช่น
  • ความทวย สุกอยู่ดิน กากินบ่ได้ สุกอยู่ฟ้า กายื้อบ่เถิง ไผว่าแม่นหยัง?
  • ความแก้ ลูกหลานก็จะคิดหาความแก้ ถ้าใครแก้ได้ท่านก็ให้รางวัลดังกล่าว แล้วความแก้หรือคำตอบนี้ก็คือ "ดวงตะวัน" และ"กองไฟ"
ข้อสังเกต ความทวยหรือปริศนาปัญหานี้ ท่านจะผูกขึ้นจากลักษณะของสิ่งที่จะเอามาตั้งเป็นปัญหา เพื่อให้ลูกหลานใช้สมองเทียบเคียงดู เช่น สุกอยู่ดินคือ "กองไฟ" เพราะกองไฟมันจะมีสีแดง ปกติของสีแดงๆ มันจะเป็นสัญลักษณ์แห่งของสุก "สุกอยู่ฟ้า" คือดวงตะวันสีแดงๆ บนฟ้า ของสุกมันจะมีสีแดง ของดิบมันจะเป็นสีอื่นๆ และกากินไม่ได้ด้วย เด็กฉลาดก็จะเทียบเคียงได้เอง รายละเอียดและตัวอย่างคำทวยดูได้จากหัวข้อด้านล่าง
                                     

นิทานเรื่องขุนช้าง ขุนแผน


                                  นิทานเรื่อง ขุนช้างขุนแผน



                                  
           กล่าวถึงครอบครัวสามครอบครัว คือ ครอบครัวของขุนไกรพลพ่ายรับราชการทหาร มีภรรยาชื่อ นางทองประศรี มีลูกชายด้วยกันชื่อ พลายแก้ว ครอบครัวของขุนศรีวิชัย เศรษฐีใหญ่ของเมืองสุพรรณบุรี รับราชการเป็นนายกองกรมช้างนอก ภรรยาชื่อ นางเทพทอง มีลูกชายชื่อ ขุนช้าง ซึ่งหัวล้านมาแต่กำเนิด และครอบครัวของพันศรโยธา เป็นพ่อค้า ภรรยาชื่อ ศรีประจัน มีลูกสาวรูปร่างหน้าตางดงามชื่อ นางพิมพิลาไลยวันหนึ่งสมเด็จพระพันวษา มีความประสงค์จะล่าควายป่า จึงสั่งให้ขุนไกรปลูกพลับพลาและต้อนควายเตรียมไว้ แต่ควายป่าเหล่านั้นแตกตื่นไม่ยอมเข้าคอก ขุนไกรจึงใช้หอกแทงควายตายไปมากมาย ที่รอดชีวิตก็หนีเข้าป่าไป สมเด็จพระพันวษาโกรธมากสั่งให้ประหารชีวิตขุนไกรเสีย นางทองประศรีรู้ข่าวรีบพาพลายแก้วหนีไปอยู่ที่เมืองกาญจนบุรีทางเมืองสุพรรณบุรี มีพวกโจรจันศรขึ้นปล้นบ้านของขุนศรีวิชัยและฆ่าขุนศรีวิชัยตาย ส่วนพันศรโยธาเดินทางไปค้าขายต่างเมือง พอกลับมาถึงบ้านก็เป็นไข้ป่าตายเมื่อพลายแก้วอายุได้ ๑๕ ปี ก็บวชเณรเรียนวิชาอยู่ที่วัดส้มใหญ่ แล้วย้ายไปเรียนต่อที่วัดป่าเลไลย ต่อมาที่วัดป่าเลไลยจัดให้มีเทศน์มหาชาติ เณรพลายแก้วเทศน์กัณฑ์มัทรี ซึ่งนางพิมพิลาไลยเป็นเจ้าของกัณฑ์เทศน์ นางพิมเลื่อมใสมากจนเปลื้องผ้าสไบบูชากัณฑ์เทศ์ ขุนช้างเห็นเช่นนั้นก็เปลื้องผ้าห่มของตนวางเคียงกับผ้าสไบของนางพิม อธิฐานขอให้ได้นางเป็นภรรยา ทำให้นางพิมโกรธ ต่อมาเณรพลายแก้วก็สึกแล้วให้นางทองประศรีมาสู่ขอนางพิมและแต่งงานกันทางกรุงศรีอยุธยาได้ข่าวว่ากองทัพเชียงใหม่ตีได้เมืองเชียงทอง ซึ่งเป็นเมืองขึ้นของกรุงศรีอยุธยา สมเด็จพระพันวษาถามหาเชื้อสายของขุนไกร ขุนช้างซึ่งเข้าไปรับราชการอยู่จึงเล่าเรื่องราวความเก่งกล้าสามารถของพลายแก้ว เพื่อหวังจะพรากพลายแก้วไปให้ห่างไกลนางพิม สมเด็จพระพันวษาจึงให้ไปตามตัวมาแล้วแต่งตั้งให้เป็นแม่ทัพไปรบกับเมืองเชียงใหม่และได้ชัยชนะ นายบ้านแสนคำแมนแห่งหมู่บ้านจอมทอง เห็นว่าพลายแก้วกับพวกทหารไม่ได้เบียดเบียนให้ชาวบ้านเดือดร้อนจึงยกนางลาวทองลูกสาวของตนให้เป็นภรรยาของพลายแก้วส่วนนางพิมพิลาไลย เมื่อสามีจากไปทัพได้ไม่นานก็ป่วยหนักรักษาเท่าไรก็ไม่หาย ขรัวตาจูวัดป่าเลไลยแนะนำให้เปลี่ยนชื่อเป็นวันทอง อาการไข้จึงหาย ขุนช้างทำอุบายนำหม้อใหม่ใส่กระดูกไปให้นางศรีประจันกับนางวันทองดูว่าพลายแก้วตายแล้วและขู่ว่านางวันทองจะต้องถูกคุมตัวไว้เป็นม่ายหลวงตามกฎหมาย นางวันทองไม่เชื่อ แต่นางศรีประจันคิดว่าจริง ประกอบกับเห็นว่าขุนช้างเป็นเศรษฐีจึงบังคับให้นางวันทองแต่งงานกับขุนช้าง นางวันทองจำต้องตามใจแม่แต่นางไม่ยอมเข้าหอ ขณะนั้นพลายแก้วกลับมาถึงกรุงศรีอยุธยาและได้บรรดาศักดิ์เป็นแผนแสนสะท้าน จากนั้นก็พานางลาวทองกลับสุพรรณบุรีนางวันทองเห็นขุนแผนพาภรรยาใหม่มาด้วยก็โกรธด่าทอโต้ตอบกับนางลาวทองและลืมตัวพูดก้าวร้าวขุนแผน ทำให้ขุนแผนโมโหพานางลาวทองไปอยู่ที่กาญจนบุรี ส่วนนางวันทองและลืมตัวพูดก้าวร้าวขุนแผน ทำให้ขุนแผนโมโหพานางลาวทองไปอยู่ที่กาญจนบุรี ส่วนนางวันทองก็ตกเป็นภรรยาของขุนช้างอย่างจำใจต่อมาขุนช้างและขุนแผนเข้าไปรับราชการอบรมในวังและได้มหาดเล็กเวรทั้งสองคน วันหนึ่งนางทองประศรีให้คนมาส่งข่าวว่า นางลาวทองป่วยหนัก ขุนแผนจึงฝากเวรไว้กับขุนช้างแล้วไปดูอาการของนางลาวทอง ตอนเช้าสมเด็จพระพันวษาถามถึงขุนแผน ขุนช้างบอกว่าขุนแผนปีนกำแพงวังหนีไปหาดภรรยา สมเด็จพระพันวษาโกรธจึงสั่งให้นำตัวนางลาวทองมากักไว้ในวัง ส่วนขุนแผนให้ไปตระเวนด่านห้ามเข้าวังอีกทำให้ขุนแผนแค้นขุนช้างมากคิดช่วงชิงนางวันทองกลับคืนมา จึงออกหาของวิเศษ ๓ อย่าง คือ ดาบวิเศษ กุมารทอง และม้าฝีเท้าดี ขุนแผนเดินทางไปถึงซ่องโจรของหมื่นหาญก็สมัครเข้าเป็นสมุน วันหนึ่งได้ช่วยชีวิตหมื่นหาญให้รอดพ้นจากการถูกวัวแดงขวิดตาย หมื่นหาญจึงยกนางบัวคลี่ลูกสาวของตนให้เป็นภรรยาของขุนแผน ต่อมาหมื่นหาญเห็นขุนแผนมีวิชาอาคมเหนือกว่าตนก็คิดกำจัด โดยสั่งให้นางบัวคลี่วางยาพิษฆ่าขุนแผน แต่โหงพรายมาบอกให้ขุนแผนรู้ตัว คืนนั้นพอนางบัวคลี่นอนหลับ ขุนแผนก็ผ่าท้องนางควักเอาเด็กไปทำพิธีปลุกเสกเป็นกุมารทอง ต่อจากนั้นก็ทำพิธีตีดาบฟ้าฟื้นและไปซื้อม้าลักษณะดีได้ตัวหนึ่ง ชื่อ ม้าสีหมอก แล้วขุนแผนก็ไปที่บ้านของขุนช้างสะกดคนให้หลับหมดแล้วขึ้นไปบนบ้านแต่เข้าห้องผิด จึงพบนางแก้วกิริยาและได้นางเป็นภรรยา จากนั้นก็ไปปลุกนางวันทองพาขึ้นม้าหนีเข้าป่าไป ขุนช้างไปฟ้องสมเด็จพระพันวษา พระองค์ให้ทหารตามจับขุนแผน แต่ถูกขุนแผนฆ่าตายไปหลายคน ขุนแผนกับนางวันทองหลบซ่อนอยู่ในป่าจนนางตั้งท้องจึงพากันออกมามอบตัวสู้คดีกับขุนช้างจนชนะคดี ขุนแผนนางวันทอง และนางแก้วกิริยาจึงอยู่ร่วมกันด้วยความสุข แต่ขุนแผนนึกถึงนางลาวทองจึงขอร้องจมื่นศรีเสาวรักษ์ให้ขอตัวนางจากสมเด็จพระพันวษาทำให้พระองค์โกรธว่าขุนแผนกำเริบจึงสั่งจำคุกขุนแผนไว้ นางแก้วกิริยาตามไปปรนนิบัติขุนแผนด้วย ส่วนนางวันทองพักอยู่ที่บ้านของหมื่นศรี ขุนช้างจึงพาพรรคพวกมาฉุดนางวันทองไปเป็นภรรยาอีก ต่อมานางก็คลอดลูกชาย แล้วตั้งชื่อให้ว่าพลายงาม ขุนช้างรู้ว่าไม่ใช่ลูกของตนก็เกลียดชัง วันหนึ่งจึงหลอกพาเข้าไปในป่าทุบตีจนสลบแล้วเอาท่อนไม้ทับไว้ โหงพรายของขุนแผนมาช่วยได้ทัน นางวันทองจึงให้ลูกไปอยู่กับนางทองประศรีที่กาญจนบุรีพลายงามได้ร่ำเรียนวิชาของพ่อเชี่ยวชาญ ขุนแผนจึงพาไปฝากไว้กับหมื่นศรี เพื่อหาโอกาสให้เข้ารับราชการทางฝ่ายพระเจ้าเชียงอินทร์ เจ้าเมืองเชียงใหม่ ให้ทหารไปชิงตัวนางสร้อยทองธิดาพระเจ้าล้านช้างระหว่างที่เดินทางไปยังกรุงศรีอยุธยา เพราะพระเจ้าล้านช้างต้องการเป็นไมตรีด้วยจึงส่งธิดามาถวายตัวแล้วพระเจ้าเชียงอินทร์ยังส่งหนังสือท้าทายสมเด็จพระพันวษาอีกด้วย พลายงามได้โอกาสจึงอาสาออกไปรบ และขอให้ปล่อยขุนแผนออกจากคุกด้วย เพื่อจะได้ช่วยกันทำศึก ขุนแผนจึงพ้นโทษ ในขณะที่กำลังเตรียมทัพนางแก้วกิริยาก็คลอดลูกเป็นชาย ขุนแผนตั้งชื่อว่า พลายชุมพล แล้วขุนแผนกับพลายงามก็คุมทัพมุ่งสู่เชียงใหม่ ขุนแผนได้แวะเยี่ยมพระพิจิตรกับนางบุษบาซึ่งเคยให้ความช่วยเหลือ เมื่อครั้งขุนแผนกับนางวันทองเข้ามอบตัว พลายงามจึงได้พบนางศรีมาลาและได้นางเป็นภรรยา จากนั้นก็คุมทัพไปรบกับเชียงใหม่ได้ชัยชนะ ครั้นกลับถึงกรุงศรีอยุธยา ขุนแผนได้เป็นพระสุรินฤาไชย เจ้าเมืองกาญจนบุรี พลายงามได้เป็นจมื่นไวยวรนาถ และสมเด็จพระพันวษาก็ยกนางสร้อยฟ้าธิดาของพระเจ้าเชียงอินทร์ให้แต่งงานกับพระไวยพร้อม ๆ กับนางศรีมาลาพระไวยนางให้แม่มาอยู่กับตนและคืนดีกับพ่อ จึงไปลักพานางวันทองมาขุนช้างเคืองมากไปฟ้องสมเด็จพระพันวษา จึงมีการไต่สวนคดีกันอีกครั้งหนึ่ง ในที่สุดสมเด็จพระพันวษาก็ถามความสมัครใจของนางว่าจะเลือกอยู่กับใคร นางตัดสินใจไม่ได้ สมเด็จพระพันวษาหาว่านางเป็นหญิงสองใจจึงสั่งให้นำตัวไปประหารชีวิต พระไวยพยายามอ้อนวอนขออภัยโทษได้ แต่ไปห้ามการประหารไม่ทันในครอบครัวของพระไวยก็ไม่ราบรื่นนัก เพราะนางสร้อยฟ้าไม่พอใจที่พระไวยและนางทองประศรีรักนางศรีมาลามากกว่านาง จึงมักจะมีการทะเลาะวิวาทกันอยู่เสมอ นางสร้อยฟ้าเจ็บใจจึงให้เถรขวาดทำเสน่ห์ให้พระไวยหลงรักนาง แล้วนางสร้อยฟ้าก็หาเรื่องใส่ความให้พระไวยตีนางมาลา พลายชุมพลเข้าไปห้ามก็ถูกตีไปด้วย พลายชุมพลน้อยใจจึงหนีออกจากบ้านไปหาพ่อแม่ที่กาญจนบุรีเล่าเรื่องให้ฟัง แล้วหนีต่อไปหายายที่สุโขทัย ได้บวชเณรและเล่าเรียนอยู่ที่นั้น ฝ่ายขุนแผนรีบไปที่บ้านของพระไวย แล้วเสกกระจกมนต์ให้ดูว่าถูกทำเสน่ห์ แต่พระไวยไม่เชื่อหาว่าพ่อเล่นกลให้ดู และพูดลำเลิกบุญคุณที่ช่วยพ่อออกมาจากคุกขุนแผนแค้นมากประกาศตัดพ่อตัดลูก แล้วกลับกาญจนบุรีทันที
พลายชุมพลเรียนวิชาสำเร็จแล้วก็นัดหมายกับขุนแผนจแก้แค้นพระไวย โดยพลายชุมพลสึกจากเณรปลอมเป็นมอญ ใช้ชื่อ สมิงมัตรา ยกกองทัพหุ่นหญ้าเสกมาถึงสุพรรณบุรี สมเด็จพระพันวษา ให้ขุนแผนยกทัพไปต้านศึก ขุนแผนแกล้งแพ้ให้ถูกจับได้พระไวยจึงต้องยกทัพไปและต่อสู้กับพลายชุมพล ระหว่างที่กำลังต่อสู้กัน ขุนแผนบอกให้พลายชุมพลจับตัวพระไวยไว้ พระไวยเห็นพ่อก็ตกใจหนีกับไปฟ้องสมเด็จพระพันวษาพระองศ์จึงให้นางศรีมาลาไปรับตัวขุนแผนกับพลายชุมพลเข้าวัง พลายชุมพลอาสาจับเสน่ห์ โดยขอหมื่นศรีไปเป็นพยานด้วย พลายชุมพลจับตัวเถรขวาดกับเณรจิ๋วไว้ แล้วขุดรูปปั้นลงอาคมที่ฝั่งไส้ใต้ดินขึ้นมาได้เสน่ห์จึงคลาย ตกดึกเถรขวาดกับเณรจิ๋วสะเดาะโซ่ตรวนหนีไป ในการไต่สวนคดีนางสร้อยฟ้า ไม่ยอมรับว่าเป็นคนทำเสน่ห์ และใส่ร้ายว่านางศรีมาลาเป็นชู้กับพลายชุมพล พอนางจับได้พลายชุมพลก็หนีไปยุยงขุนแผน ในที่สุดก็มีการพิสูจน์ความบริสุทธิ์โดยการลุยไฟนางสร้อยฟ้าแพ้ถูกไฟลวกจนพุพอง ส่วนนางศรีมาลาไม่เป็นอะไรเลย สมเด็จพระพันวษาสั่งประหารนางสร้อยฟ้า แต่นางศรีมาลาช่วยขออภัยโทษให้ จึงเพียงถูกเนรเทศกลับไปอยู่ที่เชียงใหม่เช่นเดิม ระหว่างเดินทางก็พบเถรขวาดกับเณรจิ๋ว จึงเดินทางไปด้วยกัน กลับถึงเชียงใหม่ได้ไม่นานกนางก็ให้กำเนิดลูกชาย ชื่อ พลายยง ส่วนนางศรีมาลาก็คลอดลูกชายเช่นกัน ขุนแผนตั้งชื่อให้ว่า พลายเพชร
พระเจ้าเชียงอินทร์ ตั้งเถรขวาด เป็นพระสังฆราชเพื่อตอบแทนความดีความชอบที่พานางสร้อยฟ้าที่กลับบ้านเมืองได้อย่างปลอดภัย แต่เถรขวาดยังแค้นพลายชุมพล จึงเดินทางมาที่กรุงศรีอยุธยา แปลงเป็นจระเข้อาละวาดฆ่าคนและสัตว์เลี้ยงไปมากมาย พลายชุมพลจึงอาสาออกปราบจระเข้จนสำเร็จ ไดตัวเถรขวาดมาประหารชีวิต พลายชุมพลได้บรรดาศักดิ์เป็นหลวงนายฤทธิ์ นับจากนั้นเป็นตนมาทุกคนก็อยู่กันอย่างมีความสุข


การเขียนจดหมาย



การเขียนจดหมาย






ในปัจจุบัน โลกมีการพัฒนาการสื่อสารทางโทรคมนาคมได้สะดวก และรวดเร็ว แต่การสื่อสารอีกชนิดที่ยังมีความสำคัญอย่างยิ่งก็คือ การเขียนจดหมาย เพราะสามารถเขียนได้ทุกเวลา ทุกโอกาส เก็บไว้ได้นาน จดหมายของบุคคลสำคัญจะเป็นหลักฐานทางประวัติศาสตร์ในอนาคต และจดหมายที่เขียนดีมีคุณค่าก็อาจเป็นวรรณกรรมได้
หลักการเขียนจดหมาย
การเขียนจดหมายควรยึดหลักสำคัญ ดังต่อไปนี้

ขนาดซอง

การใช้ซองขนาดมาตรฐาน ปัจจุบันที่ทำการไปรษณีย์ทุกแห่งจะมีซองจดหมายจำหน่าย นับว่าเป็นซองที่มีขนาดเหมาะสม โดยทั่วไปมี ๒ แบบ ดังนี้
      ๑.  ซองสั้น มีขนาด ๓.๕ x ๖ นิ้ว ถึง ๔.๕ x ๗ นิ้ว
      ๒.  ซองยาวมีขนาด ๔.๒๕ x ๙ นิ้ว

การจ่าหน้าซอง
มีหลักการ ดังนี้
  ที่อยู่ของผู้รับ ต้องเรียงลำดับจากส่วนย่อยไปหาส่วนใหญ่ ได้แก่ 
   -  ที่ นามสกุลของผู้รับ ถ้าเป็นจดหมายสำคัญ เช่น มีธนาณัติสอดอยู่ด้วย ต้องระบุคำนำหน้าชื่อผู้รับ
   -  บ้านเลขที่ ซอย หรือตำบล
   -  ถนนที่ตั้ง
   -  ตำบลหรือเเขวง
   -  อำเภอหรือเขต
   -  จังหวัดและรหัสไปรษณีย์
๒. ที่อยู่ของผู้ส่ง เรียงลำดับเช่นเดียวกับผู้รับ จะเขียนไว้ด้านบนซ้ายของตนเอง
๓. คำขึ้นต้น 
   -  ถ้าเป็นจดหมายส่วนตัว อาจใช้คำว่า "กรุณาส่ง" หรือ "นามผู้รับ" 
   -  ถ้าเป็นจดหมายราชการหรือจดหมายธุรกิจนิยมใช้ "เรียน"
   -  จดหมายถึงพระสงฆ์ทั่วไปใช้ "นมัสการ"
๔. เเสตมป์ ต้องติดสเเตมป์ตามราคาที่กรมไปรษณีย์ฯ กำหนด เพราะถ้าติดไม่ครบ ผู้รับจะถูกปรับเป็น ๒ เท่าของราคาเเสตมป์ที่ขาดไป
การเขียนตามเเบบแผนที่นิยม
ลักษณะการเขียนจดหมายตามเเบบเเผนที่นิยม ได้แก่
๑.  คำขึ้นต้น ต้องเหมาะแก่ฐานะและตำแหน่งหน้าที่
๒.  การวางรูปแบบจดหมาย ควรจัดวางให้มีสัดส่วนพอเหมาะกับหน้ากระดาษ โดยเว้นด้านหน้าประมาณ ๑ นิ้ว และเว้นด้านหลังประมาณครึ่งนิ้ว
๓.  สำนวนภาษาที่ใช้ในการเขียน ต้องคำนึงถึงความสุภาพ เขียนถูกต้องเหมาะแก่ฐานะ และความสัมพันธ์ระหว่างบุคคล
๕.  ถ้าต้องการอวยพรให้เพื่อนหรือญาติผู้ใหญ่ในตอนท้ายของจดหมาย ควรอ้างถึงสิ่งศักดิ์สิทธิ เพื่อทำให้คำอวยพรมีความขลังและสละสลวย
๖. คำลงท้าย ต้องใช้ให้ถูกต้องเเละเหมาะแก่ฐานะและบุคคล
รูปแบบของจดหมาย
๑.  รูปแบบของการวางรูปจดหมาย
     ๑.๑  ที่อยู่ของผู้เขียน อยู่ตรงมุมบนขวาของหน้ากระดาษ โดยเริ่มเขียนจากกึ่งกลางหน้ากระดาษ โดยเริ่มเขียนจากประมาณกึ่งกลางหน้ากระดาษ
     ๑.๒  วันเดือนปี เขียนเยื้องที่อยู่ผู้เขียนมาข้างหน้าเล็กน้อย
     ๑.๓  คำขึ้นต้น อยู่ด้านซ้ายห่างจากขอบกระดาษประมาณ ๑ นิ้ว และเป็นเเนวชิดด้านซ้ายสุดของเนื้อความ
     ๑.๔  เนื้อความ เริ่มเขียนโดยย่อหน้าเล็กน้อย และควรขึ้นย่อหน้าใหม่เมื่อขึ้นเนื้อความใหม่ นอกจากนี้ต้องเว้นวรรคตอนให้ถูกต้องด้วย
     ๑.๕  คำลงท้าย อยู่ตรงกับวันเดือนปีที่เขียน
     ๑.๖  ชื่อผู้เขียน เยื้องลงมาทางขวามือ ถ้าเขียนจดหมายถึงบุคคลที่ไม่คุ้ยเคย ควรวงเล็บชื่อที่เขียนเป็นตัวบรรจงด้วย ถ้าเป็นจดหมายราชการต้องบอกยศตำแหน่งของผู้ส่งด้วย
รูปแบบของจดหมาย
                                                                                                                              (ที่อยู่ผู้เขียน)......................
                                                      (วันที่)......................(เดือน)....................(พ.ศ.)......................
(คำขึ้นต้น)...................................
(เนื้อความ)................................................................................................................................................
.................................................................................................................................................................
.................................................................................................................................................................
.................................................................................................................................................................
                                                      (คำลงท้าย)...........................................
                                                       ชื่อผู้เขียน)..........................
รูปแบบของคำขึ้นต้น สรรพนาม คำลงท้าย
ในการเขียนจดหมายต้องคำนึงถึงการเขียนคำขึ้นต้น คำลงท้าย และสรรพนามให้ถูกต้อง ดังนี้
ผู้รับ คุณพ่อ,คุณเเม่ 
คำขึ้นต้น กราบเท้า...ที่เคารพอย่างสูง
สรรพนาม (ผู้เขียน) ลูก, หนู, ผม, กระผม, ดิฉัน หรือใช้ชื่อเล่นเเทน
สรรพนาม (ผู้รับ) คุณพ่อ คุณเเม่
คำลงท้าย ด้วยความเคารพรักอย่างสูง
ผู้รับ ญาติผู้ใหญ่
คำขึ้นต้น กราบเท้า....ที่เคารพอย่างสูง หรือ กราบเรียน...ที่เคารพอย่างสูง
สรรพนาม (ผู้เขียน) หลาน, ผม, กระผม, ดิฉัน, หนู, หรือใช้ชื่อเล่นแทน
สรรพนาม (ผู้รับ) คุณปู่, คุณย่า, คุณตา, คุณยาย, คุณลุง, คุณป้า, คุณน้า, คุณอา
คำลงท้าย ด้วยความเคารพอย่างสูง
ผู้รับ พี่หรือเพื่อนที่อาวุโสกว่า
คำขึ้นต้น เรียนคุณพี่ที่เคารพ หรือ กราบ...ที่เคารพ
สรรพนาม (ผู้เขียน) น้อง, ผม, ดิฉัน, หนู, หรืออาจใช้ชื่อเล่นเเทน
สรรพนาม (ผู้รับ) คุณพี่, คุณ ...
คำลงท้าย ด้วยความเคารพ, ด้วยความเคารพรัก
ผู้รับ น้อง หรือเพื่อน
คำขึ้นต้น ...น้องรัก หรือ คุณ ... ที่รัก หรือ (ชื่อเล่น) ที่รัก
สรรพนาม (ผู้เขียน) ฉัน พี่
สรรพนาม (ผู้รับ) เธอ, คุณ, น้อง
คำลงท้าย ด้วยความรัก, ด้วยความรักยิ่ง, รักเเละคิดถึง
ผู้รับ บุคคลทั่วไป
คำขึ้นต้น เรียนคุณ...ที่นับถือ หรือ เรียนผู้จัดการบริษัท ... จำกัด
สรรพนาม (ผู้เขียน) ผม, ดิฉัน
สรรพนาม ผู้รับ) คุณ, ท่าน
คำลงท้าย ของเเสดงความนับถือ
ผู้รับ พระภิกษุทั่วไป 
คำขึ้นต้น นมัสการ...
สรรพนาม (ผู้เขียน) ผม,กระผม, ดิฉัน
สรรพนาม (ผู้รับ) ท่าน, พระคุณท่าน, ใต้เท้า, พระคุณเจ้า
คำลงท้าย ขอนมัสการมาด้วยความเคารพอย่างสูง

ตัวอย่าง จดหมายลาครู
                                                                                                                        ๑๓๒/๑๒ ถนนพระรามที่ ๖
                                                                                                                         เเขวงสามเสนใน เขตพญาไท
                                                                                                                         กรุงเทพฯ ๑๐๔๐๐
                                                                 
                                                                    ๑๘ สิงหาคม ๒๕๕๐

เรียน อาจารย์ที่ปรึกษาชั้นประถมศึกษาปีที่ ๖/๑

                   เนื่องจากดิฉันได้ลื่นหกล้มที่บ้าน  ตั้งเเต่เย็นวันเสาร์ที่ ๑๖ สิงหาคม ๒๕๕๐ ดิฉันมีอาการเจ็บปวด และข้อเท้าบวมมาก วันรุ่งขึ้นได้ไปตรวจที่โรงพยาบาล หมอบอกว่าเอ็นข้อเท้าขาด ขอให้หยุดเดิน และพักรักษาตัวประมาณ ๑ สัปดาห์
                   ดิฉันจึงเรียนมาเพื่อขออนุญาตลาป่วย เป็นเวลา ๓ วัน ตั้งเเต่วันที่ ๑๘ สิงหาคม ถึง วันที่ ๒๐ สิงหาคม ๒๕๕๐ เมื่อครบกำหนดเเล้ว ดิฉันจะมาเรียนตามปกติ

                                                                   ด้วยความเคารพอย่างสูง
                                                                      พิริยา ราชธารินทร์

                                            ขอรับรองว่าข้อความที่เด็กหญิงพิริยาเขียนเป็นความจริงทุกประการ
                                                                 (นายอารยะ ราชธารินทร์)
                                                                            ผู้ปกครอง


ตัวอย่าง
 จดหมายถึงญาติผู้ใหญ่

                                                                                                                      โรงเรียนเลิศวิทย์ อ.ปากเกร็ด
                                                                                                                       จ. นนทบุรี ๑๑๑๒๐

                                                                    ๒๖ พฤษภาคม ๒๕๕๐

กราบเท้าคุณพ่อคุณเเม่ที่เคารพรักอย่างสูง
        
          ผมได้รับเงิน ๕๐๐ บาท ที่คุณพ่อกรุณา ๒๐๐ บาท ส่วนอีก ๓๐๐ บาท ผมนำมารวมไว้ในค่าใช้จ่ายประจำวันครับ
          ผมจะเล่าเรื่องการไปเที่ยวเขาเขียวที่จังหวัดชลบุรรีให้คุณพ่อคุณเเม่ฟังนะครับ คณะของเราออกเดินทางจากโรงเรียนตั้งเเต่ ๖ โมงเช้า เพื่อมุ่งหน้าไปจังหวัดชลบุรี อาจารย์ผู้ดูแลบอกเราว่า การที่เราออกเดินทางเเต่เช้านี้เพราะรถไม่ติด เเละเราจะได้ถือโอกาสดูพระอาทิย์เเรกขึ้นด้วย
          เราไปถึงชลบุรี ๗ โมงกว่าๆ เราแวะกินข้าวเช้ากันที่ตลาดหนองมน หลังจากนั้น เราก็มุ่งหน้าไปเขาเขียวซึ่งเป็นสวนสัตว์เปิดเลยทีเดียว
          ที่เรียกว่าสวนสัตว์เปิดนั้น คงเป็นเพราะเขาไม่ได้จับสัตว์ขังไว้ในกรงเหมือนเขาดินวนา เเต่เขาปล่อยให้สัตว์ดำรงชีวิตค่อนข้างเสรีอยู่ในพื้นที่กว้างขวาง อย่างนกก็ทำกรงใหญ่มากๆ เป็นตาข่ายคลุมไว้เท่านั้น ข้างในตาข่ายก็มีต้นไม้และธรรมชาติต่างๆ เหมือนในป่า ผมได้เห็นหมีตัวใหญ่กำลังสอนลูกของมันให้ตะปบเหยื่อ ผมยังคิดถึงแมวที่บ้านเราเลยครับ เเมวมันสอนลูกของมันให้จับหนูอย่างนี้เลยครับ
          ขากลับผมเพิ่งสังเกตเห็นสองข้างทางบริเวณเขาเขียว มีต้นไม้ร่มครึ้มพอสมควร อาจารย์เล่าว่าสมัยก่อนต้นไม้มีมากกว่านี้อีก ผมคิดว่าถึงเวลาที่เเล้วที่คนไทยจะต้องช่วยกันรักษาป่าและสัตว์ป่า เพราะที่ไหนมีต้นไม้ ที่นั่นก็มีอากาศบริสุทธิ์สดชื่นดีจริงๆ เลยครับ
          ผมต้องกราบขอบพระคุณคุณพ่ออีกครั้งที่กรุณาให้ผมไปทัศนศึกษาในครั้งนี้ ทำให้ผมได้เห็นสิ่งแปลกๆ และได้พบธรรมชาติอันน่าหวงแหนของเราครับ
                                        
                                                                     ด้วยความเคารพอย่างสูง
                                                                        ภาณุวัฒน์ กีรติกุญชร

ตัวอย่าง จดหมายถึงเพื่อน

                                                                                                              ๖๓ หมู่ ๑ ต.ตาคลี
                                                                                                               อ. ตาคลี จ.นครสวรรค์
                                                                                                               ๖๐๑๔๐

                                                                       ๓๐ ธันวาคม ๒๕๕๐

กบเพื่อนรัก

         ปีใหม่นี้คิดว่าจะได้เจอกบที่บ้าน เลยไม่ได้เขียนจดหมายมาก่อน แต่เมื่อไปที่บ้านกบแล้วจึงทราบว่า กบมีกิจกรรมที่ต้องทำอยู่กรุงเทพฯ เราเลยเขียนจดหมายมาเพื่อจะถือโอกาสสวัสดีปีใหม่ด้วย
         เราได้รับจดหมายจากแหววเมื่อวานนี้เอง แหววเล่าว่าเขาเขียนเรียงความเรื่อง "พ่อของลูก" ได้รับรางวัลที่ ๑ ด้วยนะ เราก็อดคิดถึงกบไม่ได้ เพราะกบเขียนเรียงความเก่งไม่เเพ้เเหวว ไม่รู้ว่าจะไปเป็ฯที่หนึ่งในกรุงด้วยหรือเปล่า
         ตอนนี้เเถวบ้านเรามีรถบรรทุกพืชไร่วิ่งกันทั้งวันทั้งคืน ฝุ่นค่อนข้างมาก เเต่มันก็เป็นสิ่งจำเป็นที่พวกเราต้องอดทนกันมานาน กบคงไม่ต้องเจอฝุ่นอย่างบ้านเราใช่ใหม เเต่ที่กบเคยเล่าว่ากรุงเทพฯ ไม่มีฝุ่นมากอย่างบ้านเราก็จริง แต่มีสิ่งที่น่ากลัวกว่านั้น คือ มีควันจากท่อไอเสียไง เราก็เลยพยายามปลอบใจตัวเองว่าถึงบ้านเราจะมีฝุ่นเเต่ก็เป็นฝุ่นที่มีอันตรายน้อย
         เรายังไม่มีอะไรจะเล่ามากนั้น ช่วงนี้ก็เตรียมตัวดูหนังสือสอบ เพราะจะต้องสอบระหว่างภาคในอีกไม่กี่วันนี้เเล้ว เราหวังว่ากบก็คงกำลังเตรียมตัวอย่างหนักใช่ไหม กบเคยบอกเราว่า กบต้องพยายามเรียน เพราะเรามาจากต่างจังหวัดอย่าให้ใครดูถูกได้ใช่ไหม
         สุดท้ายนี้ เราขออำนาจคุณพระศรีรัตนตรัย โปรดดลบันดาลให้กบมีความสุข เรียนเก่ง และสอบได้คะเเนนดีๆ นะจ๊ะ

                                                                          รักและคิดถึง
                                                                        ยลรตี สิริวรวิทย์





การเขียนจดหมาย เป็นการสื่อสารชนิดหนึ่ง มีลักษณะเป็นความเรียงที่มีรูปแบบโดยเฉพาะ ฉะนั้นสิ่งที่ควร
คำนึงถึงในการเขียนจดหมายคือ ผู้เขียนจะต้องเลือกใช้ถ้อยคำอย่างพิถีพิถัน เช่น ใช้ถ้อยคำที่สั้น กระชับ ตรงตาม
วัตถุประสงค์
นอกจากนี้จะต้องคำนึงถึงมารยาท ความสุภาพอ่อนน้อม ความเหมาะสม ตลอดจนกาลเทศะระหว่างผู้ส่งสาร
กับผู้รับสาร 
การเขียนจดหมายจะมีรูปแบบ โดยทั่วไปจดหมายแบ่งออกเป็น 4 ชนิด ดังนี้

  ๑. จดหมายส่วนตัว ได้แก่จดหมายระหว่างบุคคลซึ่งมีความสัมพันธ์ใกล้ชิดต่อกัน เช่น พ่อ แม่ ลูก เครือญาติ
เพื่อนสนิท
๒. จดหมายกิจธุระ ได้แก่ จดหมายระหว่างเอกชนกับเอกชน อาจเป็นบุคคลใกล้ชิดหรือบุคคลทั่วไปก็ได้
หรือระหว่างเอกชนกับองค์การเอกชน เช่น สมาคม ห้างร้าน หรือเกี่ยวกับธุระการงานที่เป็นส่วนหนึ่งของการดำรงชีวิต
โดยที่ไม่เกี่ยวกับผลกำไร ขาดทุน เช่น การลาหยุดเรียน หรือขอความช่วยเหลือ
  ๓. จดหมายธุรกิจ ได้แก่ จดหมายระหว่างเอกชนกับเอกชน หรือระหว่างเอกชนกับองค์การเอกชน ที่เกี่ยวกับ
การค้า การลงทุน มีการได้กำไรหรือขาดทุน เช่น การสั่งซื้อสินค้า การกู้ยืม การขายสินค้า
๔. จดหมายราชการ ได้แก่ หนังสือที่ส่วนราชการมีถึงส่วนราชการด้วยกัน หรือถึงเอกชน หรือองค์การเอกชน
ด้วยเรื่องราชการ

กลวิธีในการเขียนจดหมาย

๑. เขียนข้อความให้ชัดเจน ใช้ถ้อยคำสุภาพ กะทัดรัด สละสลวย ไม่อ้อมค้อม และต้องใช้ภาษาที่สำรวมมากกว่า
ภาษาพูด
๒. เขียนด้วยลายมือเรียบร้อย อ่านง่าย
๓. ใช้ภาษาถูกต้องตามลักษณะการใช้ภาษาและตามความนิยม
๔. เขียนถูกต้องตามแบบฟอร์มที่รับรองกัน
มารยาทในการเขียนจดหมาย
๑.ใช้กระดาษสีขาว  สีอ่อนหรือสีสุภาพเข้ากันกับซองไม่มีรอยยับหรือรอยฉีกขาดให้ได้มาตรฐานไม่ควรใช้
กระดาษที่มีตราของทางราชการเขียนจดหมายส่วนตัว
๒. เขียนด้วยหมึกสีดำ สีน้ำเงิน ไม่ควรใช้ดินสอหรือหมึกแดง หมึกสีฉูดฉาดเพราะไม่สุภาพ ต้องเขียนตัวอักษร
หรือตัวเลขให้ชัดเจน ไม่ขูด ลบ ขีด ฆ่า หรือเขียนทับลงไป
๓. ไม่ใช้ซองที่มีลวดลายหรือสีเข้มมาก
๔. ไม่สอดธนบัตรหรือสิ่งของมีค่าลงในซองจดหมาย อาจหายได้
๕. ไม่บรรจุสิ่งของอื่นนอกจากจดหมายลงไปในซองจดหมาย เช่นกระดุม
๖. เมื่อได้รับจดหมายหรือไปรษณีย์ภัณฑืแล้ว ต้องรีบตอบโดยเร็วที่สุด
๗. จดหมายที่ส่งทางไปรษณีย์ ต้องผนึกดวงตราไปรษณียากรที่มุมบนด้านขวามือ ครใช้ดวงตราไปรษณียากร
ให้น้อยที่สุด
๘. ผนึกดวงตราไปรษณียกากรให้ถูกต้องตามอัตราที่การสื่อสารกำหนดไว้
๙. ถ้าเขียนไปรษณีย์บัตร ควรใช้ถ้อยคำสั้น ๆ สุภาพเป็นข้อความที่เปิดเผยได้
๑๐. ไม่ใช้ภาษาพูดในการเขียนจดหมาย
๑๑. ควรเขียนคำนำหน้าชื่อผู้รับบนจ่าหน้าให้ถูกต้อง ตามความนิยมและความเหมาะสม เช่น คุณ นายแพทย์
อาจารย์ หรือยศทางทหาร
๑๒. ไม่ควรใช้ซองที่ประทับตราเมล์อากาศส่งทางไปรษณีย์ธรรมดา
๑๓. ไม่ควรเขียนจดหมายถึงผู้อื่นในทำนองกล่าวหาว่าร้ายโดยไม่ลงชื่อผู้เขียน(บัตรสนเท่ห์)
๑๔. ถ้าต้องการเขียนข้อความเพิ่มเติมหลังจากจบจดหมายแล้ว ต้องเขียนคำว่า ป.ล.(ปัจฉิมลิขิต) ก่อน
๑๕. เรียงลำดับเนื้อหาสาระให้เมาะสม ไม่กำกวม ถ้าเป็นจดหมายส่วนตัว ควรมีถ้อยคำที่แสดงถึง
ความสัมพันธ์อันดี เช่น การถามทุกข์สุข
๑๖. ใช้ภาษาให้ถูกต้องตามหลักภาษาและตามความนิยม คำนึงถึงความสุภาพ ถูกกาลเทศะ รวมทั้งใช้คำนำ
สรรพนาม และคำลงท้าย ให้เหมาะสมกับฐานะ และความสัมพันธ์ระหว่างผู้เขียนกับผู้รับ


การเขียนความเรียง


                                      

                                      การเขียนความเรียง



ลักษณะการเขียนที่ดี
๑.เนื้อหาสาระดี มีประโยชน์แก่ผู้อ่าน ข้อมูลต่างๆ ถูกต้องตามความเป็นจริง การแสดงความคิดเห็นของผู้เขียนจะต้องมีเหตุผลสมควร
๒.การใช้ภาษาดี การใช้ถ้อยคำสำนวนต่างๆ ได้ตรงตามความหมายที่ต้องการอย่างแท้จริงและใช้ภาษาให้เหมาะสมตามกาลละเทศะ การผูกประโยค ให้ได้ใจความชัดเจน การเรียงลำดับและข้อความเป็นไปอย่างไม่สับสน การใช้ถ้อยคำกะทัดรัดและการรู้จักเว้นวรรคตอนได้อีกด้วย
๓.ท่วงทำนองการเขียนดี คือการรู้จักใช้รูปแบบของการเขียนให้เหมาะสมกับเนื้อหา นับว่าเป็นศิลปะของการนำเสนอประการหนึ่ง ซึ่งจะช่วยให้ผู้อ่านได้ทั้งอรรถรสและรับรู้เจตนาของ ผู้เขียนได้ชัดเจนขึ้น ทั้งยังแสดงให้เห็นฝีมือความสามารถของผู้เขียนได้เป็นอย่างดี

                                                                การเขียนความเรียง
การเขียนความเรียง เป็นการเรียบเรียงถ้อยคำให้เป็นข้อความเพื่อแสดงความคิด ความรู้สึกและความเข้าใจของเราให้ผู้อื่นทราบ

รูปแบบของการเขียนความเรียง
๑. การเขียนคำนำ เป็นการเริ่มเรื่องให้ผู้อ่านรู้ว่าเนื้อหาที่จะอ่านต่อไปเป็นเรื่องเกี่ยวกับอะไร การเริ่มเรื่องเป็นตอนสำคัญที่จะทำให้ผู้อ่านรู้สึกว่าเป็นเรื่องที่น่าอ่านหรือไม่ ดังนั้นจึงมี วิธีการที่จะเร้าความสนใจของผู้อ่านได้หลายทาง แต่ทั้งนี้ต้องให้สอดคล้องกับเรื่องและไม่ควรให้ยาวจนเกินไป
๒. เนื้อเรื่อง หมายถึง เนื้อความซึ่งเป็นสาระสำคัญของความเรียง การเขียนเนื้อเรื่องได้ดี ต้องมีการวางโครงเรื่องเสียก่อน เพื่อช่วยให้เนื้อเรื่องเป็นไปตามลำดับ ไม่สับสนและมีความเกี่ยวเนื่องกันไปจนจบ
๓. การสรุปเรื่องหรือการลงท้าย การสรุปเรื่องหรือการลงท้ายช่วยให้ผู้อ่านทราบว่าเรื่องนี้จบแล้ว ไม่ใช่ทิ้งค้างไว้เฉยๆ ทำให้สงสัยไม่แน่ใจว่าเรื่องนี้จบหรือยัง การสรุปไม่ใช้การย่อเรื่องทั้งหมด แต่การสรุปเรื่องหรือการปิดเรื่องที่ดีต้องสร้างความประทับใจแก่ผู้อ่าน อาจปิดเรื่องด้วยข้อคิดที่คามคายหรือคำประพันธ์สั้นๆ ก็ได้

ลักษณะสำคัญของความเรียง ความเรียงที่ดีต้องประกอบด้วยลักษณะสำคัญ ๓ ประการคือ
๑. เอกภาพ ได้แก่ ความเป็นอันหนึ่งอันเดียว ความเรียงเรื่องหนึ่งๆ จะต้องมีใจความและ ความมุ่งหมายสำคัญเพียงอย่างเดียวเท่านั้น เรื่องที่นำมาเขียนจะต้องเกี่ยวข้องเป็นเรื่องเดียวกัน หรือช่วยเสริมให้เรื่องเด่นชัดขึ้น เรียงความที่ขาดเอกภาพ คือ ความเรียงที่มีเรื่องต่างๆ ปนกัน บางเรื่องไม่เกี่ยวข้องกับเรื่องเดิมก็มี
๒. สัมพันธ์ภาพ คือ การเชื่อมโยงข้อความต่างๆ ให้เป็นไปตามลำดับ มีเหตุผลรับกัน ความเรียง ที่มีสัมพันธภาพ จะต้องมีเนื้อความเกี่ยวเนื่องกันไปเหมือนลูกโซ่ เนื้อความต้องชัดเจนไม่คลุมเครือ
๓. สารัตถภาพ คือ การเน้นใจความที่สำคัญให้เด่นชัดขึ้นมา ส่วนที่เป็นพลความจะต้องเป็นพลความที่ช่วยสนับสนุนใจความสำคัญนั้น ถ้าความเรียงมีพลความมากเกินไป เรียกว่าขาดสารัตถภาพ

ลักษณะความเรียงที่ดี
๑. รูปแบบหรือสัดส่วนของความเรียงจัดได้เหมาะสม วางคำนำ เนื้อเรื่อง สรุป ได้ถูกต้องน่าอ่าน
๒. เนื้อเรื่องมีแนวคิดตรงประเด็น ให้ความคิดแปลกใหม่ อ้างเหตุผลถูกต้อง ขยายความได้แจ่มแจ้งชัดเจน
๓. ความสะอาดความเป็นระเบียบ ลายมือต้องอ่านง่าย เว้นวรรคถูกต้อง
๔. การใช้ภาษาควรคำนึงถึงข้อต่อไปนี้ - ใช้คำกะทัดรัด เข้าใจง่าย มีความหมายชัดเจน - ใช้คำถูกต้องตรงความหมายและเหมาะสมกับเรื่อง - ไม่ใช้ภาษาพูด ภาษาถิ่น หรือคำแสลง - ไม่ใช้คำฟุ่มเฟือย - ไม่ใช้ศัพท์บัญญัติหรือศัพท์ทางวิชาการที่ไม่รู้จักกันดี - ไม่ใช้สำนวนภาษาต่างประเทศ - ไม่ใช้คำย่อ - ไม่ใช้คำแบบภาษาโฆษณาหรือภาษาหนังสือพิมพ์

การเขียนความเรียงจากจินตนาการ จินตนาการ คือความคิดคำนึงถึงที่เกิดขึ้นในจิตใจ อาจเป็นการวาดภาพขึ้นตามความคิดฝันหรือความคิดคำนึงนั้นอาจมาจากประสบการณ์ แล้วสร้างภาพใหม่ให้กว้าง และวิจิตรบรรจงกว่าประสบการณ์เดิม การเขียนความเรียงจากจินตนาการจะต้องอาศัยศิลปะเฉพาะตัวของผู้เขียนและได้รับการฝึกฝนอยู่เสมอ

แนวทางในการฝึกเขียน
๑. ก่อนลงมือเขียนควรทำใจให้สบายไม่กังวล เริ่มหาภาพที่มโนภาพของเราจะชักจูงให้คิด
๒. คิดสร้างภาพ พยายามถ่ายทอดเป็นการเขียน
๓. เลือกเฟ้นถ้อยคำที่จะเขียน สามารถสื่อความหมายให้ผู้อ่านเข้าใจได้ตามความต้องการ
๔. จดบันทึกสิ่งที่คิดไว้ก่อนแล้วจึงมาเรียงลำดับความในภายหลัง
๕. วางแนวเรื่องไว้เป็นหัวข้อสั้นๆ